หัวใจของอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากรสชาติ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับสุขอนามัยด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้ามการดูแลเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารให้ปลอดเชื้อโรคและสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งการเข้าใจขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารที่ถูกต้อง จะช่วยให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร โดยเฉพาะประเภทของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด สามารถแบ่งได้ตามความเสี่ยงหรือความใกล้ชิดอาหารเป็น 2 ประเภท คือ
- โซนพื้นผิวที่มีการสัมผัสอาหารโดยตรง เช่น เครื่องมือในการผลิตอาหาร โต๊ะปฏิบัติงาน สายพานลำเลียง บรรจุภัณฑ์ และมือของพนักงาน โซนนี้จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างละเอียดเป็นประจำ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการเจริญเติบโตของเชื้อโรค โดยต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง และไม่เกิดปฏิกิริยากับอาหารอีกด้วย
- โซนที่ไม่สัมผัสอาหารโดยตรง เช่น พื้นที่ใต้โต๊ะ สวิตช์ไฟ พื้นโรงงาน ห้องล็อกเกอร์ โซนเหล่านี้อาจไม่ต้องทำความสะอาดอย่างเข้มงวดเท่ากับโซนที่สัมผัสอาหารโดยตรง แต่ก็ยังต้องได้รับการทำความสะอาดเพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นละอองและเชื้อโรค
ขั้นตอนการทำความสะอาดโรงงานและสายการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร
การทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- กำหนดพื้นที่และเตรียมอุปกรณ์
ก่อนเริ่มการทำความสะอาด ควรกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจน และเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม เช่น ผ้าทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย และถุงมือทำความสะอาด - กำจัดสิ่งสกปรก และทำความสะอาดคราบหนัก
ขั้นตอนนี้เป็นการขจัดสิ่งสกปรกและคราบหนัก เช่น คราบไขมัน คราบอาหาร ที่ติดอยู่ตามเครื่องจักรและพื้นที่การผลิต โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมกับประเภทของคราบ ซึ่งคราบเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน นอกจากจะเป็นแหล่งกำเนิดเชื้อโรคแล้ว ยังจะส่งผลให้เครื่องจักรเสียหายได้ - ฆ่าเชื้อโรค
หลังจากทำความสะอาดคราบสกปรกแล้ว ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัยของอุตสาหกรรมอาหาร เช่น สารเคมีกลุ่มคลอรีน ไอโอดีน โอโซน QACs เปอร์ออกไซด์ กรดไขมัน เพื่อทำลายเชื้อโรคที่อาจตกค้างอยู่ - ล้างทำความสะอาดซ้ำ
เมื่อฆ่าเชื้อโรคเสร็จสิ้น ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำอีกครั้ง เพื่อกำจัดน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหลืออยู่ และทำให้เครื่องจักรสะอาดพร้อมใช้งาน - อบแห้ง
การอบแห้งเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อป้องกันความชื้นที่อาจเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย การอบแห้งจะช่วยให้เครื่องจักรพร้อมใช้งานโดยไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน - ตรวจสอบและบันทึกผล
ควรตรวจสอบความเรียบร้อย และบันทึกผล เพื่อเป็นหลักฐานในการติดตามประเมินผลลัพธ์ และปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักรอุตสาหกรรมในครั้งต่อไป
ข้อดีของการทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร
การทำความสะอาดเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารและโรงงานผลิต มีข้อดีมากมาย ซึ่งที่เห็นได้ชัดมีดังนี้
- รักษาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
เครื่องจักรในอุตสาหกรรมที่สะอาด และพื้นที่ในกระบวนการผลิตที่ปราศจากเชื้อโรค จะช่วยรักษาคุณภาพของอาหารให้ปลอดภัยและตรงตามมาตรฐาน - ป้องกันโรคติดต่อทางอาหาร
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อผ่านอาหาร - เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
เครื่องจักรที่ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดการซ่อมบำรุง และลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต - ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน
การทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักร เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและรักษามาตรฐาน GMP และ HACCP ช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น - สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่แบรนด์
โรงงานที่สะอาดและเครื่องจักรในกระบวนการผลิตที่ปราศจากเชื้อโรค จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และได้รับการยอมรับในตลาด
การทำความสะอาดโรงงานและเครื่องจักรอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ เป็นกระบวนการสำคัญ ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอย่างมั่นคง
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และคว้าโอกาสในการเติบโตได้ด้วยเครื่องจักรในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูง โดย Asia Engineering Pac เราเป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร และผู้นำเข้าเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอาหาร ยา สี และเคมี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องติดฉลาก เครื่องบรรจุอัตโนมัติ เครื่องบรรจุของเหลว รวมถึงเครื่องบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ ที่มีความทันสมัยและปลอดภัย ตลอดจนมีทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำความสะอาดเครื่องจักรอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-806-4501 และ 089-769-1417
ข้อมูลอ้างอิง
- การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 จาก https://food.fda.moph.go.th/media.php?id=512256961316790272&name=GMPKM_9.pdf
- การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 จาก https://essentialoil.wu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/การทำความสะอาดโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร.ppt